ข้อมูลที่ต้องทราบก่อนการทำหนังสือเดินทางไทย
1. หนังสือเดินทางมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ควรเก็บรักษาให้ดี ไม่ควรทำหายเพราะจะเกิด ความยุ่งยาก เนื่องจากผู้ที่ทำหนังสือเดินทางสูญหายจะต้องดำเนินการแจ้งความกับสถานีตำรวจ ท้องถิ่นของประเทศสหรัฐอเมริกาก่อน (สูญหายในพื้นที่ใด จะต้องแจ้งความกับสถานีตำรวจ ในพื้นที่นั้น) โดยผู้ร้องจะต้องนำใบแจ้งความจากสถานีตำรวจมาเป็นหลักฐานเพื่อขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ หรือเอกสารเดินทางฉุกเฉิน
2. ผู้ร้องควรทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ เมื่อหนังสือเดินทางเล่มปัจจุบันมีอายุการใช้งานเหลือน้อยกว่า 1 ปี และไม่ควรปล่อยให้หมดอายุก่อนทำเล่มใหม่
3. ผู้ร้องต้องเข้ามาทำหนังสือเดินทางด้วยตัวเองเท่านั้น เพราะต้องพิมพ์ลายนิ้วมือ 10 นิ้ว
ถ่ายรูปใหม่ และสแกนม่านตา ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ
4. สถานกงสุลใหญ่ฯ ขอสงวนสิทธิ์ที่จะให้บริการงานด้านกงสุลทุกประเภทสำหรับผู้ที่จองคิว
ล่วงหน้าเท่านั้น ยกเว้นผู้ที่มีอายุเกินกว่า 60 ปี ไม่ต้องลงทะเบียนจองคิวล่วงหน้า
5. ระยะเวลาการรอรับหนังสือเดินทางเล่มใหม่ขึ้นอยู่กับประเภทการรับเล่ม หากผู้ร้องเดินทาง
มารับเล่มด้วยตนเอง ใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ หากรับเล่มทางไปรษณีย์ ใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์
6. ผู้ร้องจะต้องเตรียมซองเปล่าสำหรับการส่งเล่มกลับทางไปรษณีย์มาเอง (แนะนำให้ใช้แสตมป์ที่เป็นดวงตราไปรษณีย์เท่านั้น ไม่รับ metered stamp ที่ทางไปรษณีย์ปริ้นท์ให้ เนื่องจาก metered stamp จะระบุวันที่จัดส่ง
ซึ่งบางทีหนังสือเดินทางเล่มใหม่ของผู้ร้องอาจไม่สามารถจัดส่งตามวันเวลาที่ metered stamp ระบุไว้) และจ่าหน้าซองถึงตนเอง
ให้ชัดเจน ซองที่ใช้จะต้องเป็น USPS Priority Mail Express ขนาด 9-1/2"(L) x 12-1/2"(W) เท่านั้น
7. ในการทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ จะต้องใช้บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงที่ยังมีอายุการใช้งานอยู่ ในกรณีที่บัตรประจำตัวประชาชนของท่านหมดอายุ
สูญหาย หรือมีการแก้ไขข้อมูลบนบัตร ท่านสามารถขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใบใหม่ได้ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ เช่นกัน โดยสามารถ
รอรับบัตรประจำตัวประชาชนใบใหม่ได้เลย ทั้งนี้ ท่านจะต้องจองคิวทำบัตรประจำตัวประชาชนแยกต่างหากจากการจองคิวทำหนังสือเดินทาง ดังนั้น เพื่อความสะดวกของท่าน
ขอให้จองคิวทำบัตรประจำตัวประชาชนและหนังสือเดินทางในวันเเละช่วงเวลาเดียวกัน ในกรณีที่ไม่สามารถนำบัตรประจำตัวประชาชนมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ได้
ท่านสามารถใช้สำเนาของบัตรประจำตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุแทนบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงได้ (คลิก...อ่านวิธีการทำบัตรประจำตัวประชาชน)
8. กรุณาจัดเตรียมค่าธรรมเนียมให้พอดี (ชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)
9. การออกหนังสือเดินทางจะออกตามข้อมูลในบัตรประจำตัวประชาชน จะไม่ออกตามหนังสือเดินทางเล่มเดิม
10. การเปลี่ยนนามสกุลหลังการสมรสหรือหย่า จะต้องแก้ไขในทะเบียนราษฏร์ก่อน โดยจะต้องดำเนินการแก้ไขที่อำเภอหรือเขต
โดยทำใบมอบอำนาจให้คนที่เมืองไทยเดินทางไปแก้ไขที่เขตหรืออำเภอ หรือจะเดินทางกลับไปแก้ไขด้วยตัวเอง เมื่อแก้ไขเสร็จแล้วก็ดำเนินการทำบัตร
ประจำตัวประชาชนใบใหม่ได้ทันที
11. ผู้ที่เกิดในต่างประเทศจะมีสิทธิขอหนังสือเดินทางได้ 1 ครั้งเพื่อที่จะเดินทางกลับประเทศไทย
เอาชื่อเข้าในทะเบียนบ้านและทำบัตรประจำตัวประชาชน ถ้าดำเนินการขอหนังสือเดินทางไปแล้วแต่ไม่เดินทางกลับเมืองไทยเพื่อนำชื่อเข้าทะเบียนบ้านให้เรียบร้อย
กระทรวงฯ จะไม่ออกหนังสือเดินทางเล่มที่ 2 ให้ จนกว่าจะนำชื่อเข้าทะเบียนบ้านและนำเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักมาแสดงเพื่อขอมีหนังสือเดินทางไทยเล่มที่ 2 ต่อไป
12. ผู้ร้องอายุเกิน 7 ปี บริบูรณ์ และเคยมีหนังสือเดินทางไทยแต่ยังไม่เคยทำบัตรประจำตัวประชาชนไทย
ท่านจะไม่สามารถทำหนังสือเดินทางเล่มต่อไปได้ โดยท่านจะต้องเดินทางกลับไปติดต่อขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใบแรกที่ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตในประเทศไทย
ให้เรียบร้อยก่อน ทั้งนี้ สถานกงสุลใหญ่ฯ สามารถออกเอกสารเดินทางฉุกเฉิน หรือ Emergency Travel Document (ETD) ให้ท่านเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการเดินทางกลับประเทศไทยได้ NEW!
เอกสารที่ต้องใช้ในการทำหนังสือเดินทางมีดังนี้
เด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี
เด็กอายุ 7 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 ปี
หมายเหตุ : สำหรับผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 20 ปี
1. กรณีที่ต้องการทำหนังสือเดินทางให้ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 20 ปี บริบูรณ์ โดยบิดา หรือ มารดา หรือผู้มีอำนาจปกครอง ไม่สามารถเดินทางไปลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ทำหนังสือเดินทางได้...
2. กรณีที่ บิดา หรือ มารดา หรือ ผู้มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ที่อายุต่ำกว่า 15 ปี ไม่สามารถเดินทางพาผู้เยาว์ไปทำหนังสือเดินทางได้และต้องการให้ผู้อื่นพาผู้เยาว์ไปทำหนังสือเดินทางแทน...คลิก
บุคคลทั่วไปอายุ 20 ปีขึ้นไป
พระสงฆ์
**หมายเหตุ**
ค่าธรรมเนียม
หนังสือเดินทางไทยหมดอายุ
สำหรับผู้ร้องที่มีอายุมากกว่า 20 ปี บริบูรณ์ (บรรลุนิติภาวะแล้ว)
หนังสือเดินทางหมดอายุ จองคิวเข้ารับบริการและหลักฐานที่จะต้องนำมายื่น ได้แก่
หลักเกณฑ์การให้บริการของผู้ร้องที่เดินทางมาทำหนังสือเดินทาง
ที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครนิวยอร์ก
เจ้าหน้าที่ขอสงวนสิทธิ์จัดคิวบริการและให้บริการตามลำดับดังต่อไปนี้
1. ให้บริการผู้ร้องที่จองคิวและพักอาศัยอยู่ใน 10 รัฐของเขตดูแลฯ
2. ผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี (ไม่ได้จองคิว) แต่พักอาศัยอยู่ใน 10 รัฐของเขตดูแลฯ
หมายเหตุ : สถานกงสุลใหญ่ฯ ขอความร่วมมือผู้ที่ต้องการจองคิวเข้ารับบริการดังนี้
- ขอความกรุณาอย่าจองคิวมากกว่า 1 ครั้ง (อย่าจองซ้ำ หรือถ้ามีความจำเป็นต้องเลื่อนวันรับบริการ ขอความกรุณาให้ดำเนินการยกเลิกการจองครั้งแรก เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นได้เดินทางเข้ามารับบริการ)
- ขอความกรุณาอย่าจองคิวโดยที่ไม่มีเจตนาที่จะเดินทางเข้ามารับบริการ
- ขอความกรุณาอย่าใช้ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ของผู้อืน หรือ สร้างชื่อและที่อยู่ที่ไม่มีตัวตน (นามแฝงที่ไม่สามารถตรวจสอบได้) มาจองคิวเข้ารับบริการโดยมีเจตนาที่จะไม่เข้ามารับบริการ
คลิกที่ปุ่ม REGISTER NOW เพื่อลงทะเบียนจองคิว
(ยกเว้นผู้มีอายุมากกว่า 60 ปีบริบูรณ์
สามารถเดินทางเข้ามาขอรับบริการได้โดยไม่ต้องจองคิว)
ค่าธรรมเนียม
การรับเล่มหนังสือเดินทางด้วยตนเอง
การส่งหนังสือเดินทางกลับทางไปรษณีย์
1. แนะนำให้ติดแสตมป์มูลค่า $26.95 (ต้องเป็นแสตมป์ที่เป็นดวงตราไปรษณีย์เท่านั้น ไม่รับ metered stamp ที่ทางไปรษณีย์ปริ้นท์ให้ เนื่องจาก metered stamp จะระบุวันที่จัดส่ง ซึ่งบางทีหนังสือเดินทางเล่มใหม่ของผู้ร้องอาจไม่สามารถจัดส่งตามวันเวลาที่ metered stamp ระบุไว้)
2. กรอกชื่อ-ที่อยู่ ผู้ส่ง
Royal Thai Consulate-General NY
351 East 52nd Street
New York, NY 10022
3. กรอกชื่อ-ที่อยู่ ผู้รับ
กรอกชื่อและที่อยู่ของท่านให้ชัดเจน
ควรแต่งหน้าและแต่งกายอย่างไร
เมื่อต้องมารับบริการทำหนังสือเดินทาง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ext. 304, 308 หรือ 311
หรือฝากข้อความที่ Facebook หรือ e-mail : info@thaicgny.com
|
|
|