การแจ้งเกิด
การแจ้งเกิดและขอสูติบัตรไทยสำหรับเด็กที่เกิดในต่างประเทศ
1. สถานที่รับแจ้งเกิด
สถานที่รับแจ้งเกิดจะต้องอยู่ในท้องที่ที่เด็กเกิดเท่านั้น สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลไทยเป็นนายทะเบียนราษฎร์ในต่างประเทศซึ่งมีเขตรับผิดชอบตามที่ได้รับมอบหมายแตกต่างกัน
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครนิวยอร์กเป็นนายทะเบียนราษฎร์ซึ่งมีอำนาจรับแจ้งเกิดเด็กในรัฐเขตอาณา 10 รัฐดังต่อไปนี้ โอไฮโอ เพนซิลเวเนีย นิวเจอร์ซีย์ นิวยอร์ก คอนเนคติกัต โรดไอร์แลนด์ แมสสาชูเซตส์ เวอร์มอนต์ เมน นิวแฮมพ์เชียร์
2. ผู้มีหน้าที่แจ้งเกิด
บิดาหรือมารดาของเด็ก กรณีบิดาหรือมารดาไม่สามารถมาแจ้งเกิดได้ด้วยตนเอง สามารถมอบหมายให้ญาติหรือคนสนิทที่รับทราบการเกิดของเด็กมาแจ้งเกิดแทนได้
3. ระยะเวลาการแจ้งเกิด
สามารถแจ้งเกิดได้ตามความเหมาะสม
4. การได้สัญชาติไทยของเด็ก
เด็กที่เกิดในต่างประเทศโดยที่มารดามีสัญชาติไทย ย่อมได้สัญชาติไทยตามมารดาไม่ว่าบิดาจะเป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือไม่ก็ตาม และถ้ามารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย บิดาเป็นคนต่างชาติแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน เด็กย่อมได้สัญชาติไทยตามกฏหมายด้วย
สำหรับเด็กที่เกิดจากมารดาที่ไม่ใช่สัญชาติไทยซึ่งไม่จดทะเบียนสมรสกับบิดาที่มีสัญชาติไทย เด็กย่อมไม่ได้สัญชาติไทย แต่หากจดทะเบียนสมรสกัน เด็กย่อมได้สัญชาติไทย
สัญชาติบิดา |
สัญชาติมารดา |
สถานภาพสมรส |
สัญชาติบุตร |
ไทย |
ไทย |
จดทะเบียน |
ไทย |
ไทย |
ไทย |
ไม่จดทะเบียน |
ไทย |
ไทย |
อื่นๆ |
จดทะเบียน |
ไทย |
ไทย |
อื่นๆ |
ไม่จดทะเบียน |
ไม่ได้สัญชาติไทย โดยการเกิด |
อื่นๆ |
ไทย |
จดทะเบียน |
ไทย |
อื่นๆ |
ไทย |
ไม่จดทะเบียน |
ไทย |
5. การใช้นามสกุลของเด็ก
5.1 กรณีบิดามารดาจดทะเบียนสมรส
- เด็กมีสิทธิใช้นามสกุลบิดา
- เด็กสามารถใช้นามสกุลมารดา ทั้งนี้ บิดาและมารดาต้องให้ความยินยอมโดยทั้งสองฝ่ายต้องให้ปากคำต่อเจ้าหน้าที่กงสุลเพื่อบันทึกปากคำและเหตุผลไว้เป็นหลักฐานประกอบ
5.2 กรณีบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส
โดยที่กฎหมายกำหนดให้เด็กที่เกิดมาเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาฝ่ายเดียว เด็กย่อมมีสิทธิใช้นามสกุลของมารดา หากมารดาประสงค์จะให้บุตรใช้นามสกุลที่มิใช่นามสกุลมารดา จำเป็นต้องมาสอบปากคำเพิ่มเติมพร้อมกับผู้ที่ยินยอมให้ใช้นามสกุลต่อหน้านายทะเบียน กรณีดังกล่าว สถานกงสุลฯ สามารถออกสูติบัตรที่ระบุนามสกุลของมารดาเพียงเท่านั้น
6. ข้อควรพิจารณาเมื่อได้รับสูติบัตรแล้ว
6.1 นำชื่อเด็กเข้าทะเบียนบ้านไทย บิดาหรือมารดานำสูติบัตรที่เจ้าหน้าที่กงสุลออกให้ไปติดต่อกับนายทะเบียนที่สำนักงานอำเภอ/เทศบาลที่บิดาหรือมารดาของเด็กที่จะแจ้งชื่อเด็กเข้าทะเบียนบ้าน
6.2 ทำหนังสือเดินทางไทย นำสูติบัตรไปประกอบการยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทาง ทั้งนี้ ขอให้ตรวจสอบรายละเอียดการทำหนังสือเดินทางแก่เด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะก่อนเดินทางมาทำหนังสือเดินทาง
********************
+ การขอสูติบัตรไทย
หลักฐานและเอกสารที่ต้องใช้มีดังนี้
2. สูติบัตรสหรัฐฯ ที่ผ่านการรับรอง พร้อมสำเนา 1 ชุด
ก่อนที่จะยื่นคำร้องต่อสถานกงสุลฯ ท่านจะต้องนำสูติบัตรท้องถิ่นของบุตรที่ออกโดยทางการสหรัฐฯ (US Birth Certificate) ไปผ่านการรับรอง (Authentication) จากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาก่อน โดยมีลำดับตามขั้นตอนที่ 1 และ 2 (สามารถดำเนินการทางไปรษณีย์ได้) ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 นำใบสูติบัตรท้องถิ่นของทางราชการสหรัฐฯไปผ่านการรับรองจาก Office of the Secretary หรือ State Authentication ของมลรัฐที่ออกสูติบัตรท้องถิ่นให้ ท่านสามารถหาข้อมูลของหน่วยงานและสถานที่สำหรับส่งเอกสารไปรับรองได้ที่ (เลือกรัฐที่ออกเอกสารใบสูติบัตร)
นิวยอร์ก แมสซาซูเซ็ตส์ เพนซิลเวเนีย คอนเน็คติกัต
นิวเจอร์ซี เวอร์มอน เมน โอไฮโอ
ขั้นตอนที่ 2 นำใบสูติบัตรท้องถิ่นที่ผ่านการรับรองในขั้นตอนที่ 1 ไปผ่านการรับรองที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ Department of State, Authentication Office, Washington DC ท่านสามารถหาข้อมูลของหน่วยงานและสถานที่สำหรับส่งเอกสารไปรับรองได้ที่ https://travel.state.gov/content/travel/en/legal-considerations/judicial/authentication-of-documents/office-of-authentications.html
*การรับรองเอกสารจะต้องผ่านหน่วยงานในขั้นตอนที่ 1 ก่อน ไม่เช่นนั้น หน่วยงานในขั้นตอนที่ 2 จะไม่ดำเนินการรับรองเอกสารให้
**หากผู้แจ้งส่งสูติบัตรท้องถิ่นที่ไม่ผ่านการรับรองของ 2 หน่วยงานขั้นต้นมา ทางเจ้าหน้าที่จะไม่สามารถดำเนินการแจ้งเกิดไทยให้ได ้ เพราะฉะนั้นกรุณาปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด
3. ในกรณีที่ใบสูติบัตรท้องถิ่นไม่ระบุชื่อโรงพยาบาลและที่อยู่ จะต้องขอเอกสารรับรองจากทางโรงพยาบาลเพื่อให้ทราบชื่อโรงพยาบาลเเละที่อยู่ของโรงพยาบาลส่งมาด้วย
4. สำเนาบัตรประชาชนไทยที่ยังไม่หมดอายุของบิดาและมารดา ในกรณีเป็นชาวต่างชาติ ให้ยื่นสำเนาบัตรประจำตัวอื่นได้ เช่น ใบขับขี่ เป็นต้น ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องให้เรียบร้อย
5. สำเนาหนังสือเดินทางที่ยังไม่หมดอายุของบิดาและมารดา หากเป็นคนไทย จะต้องยื่นสำเนาหยังสือเดินทางไทยเท่านั้น ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องให้เรียบร้อย
6. สำเนาทะเบียนบ้านของบิดาและมารดา กรณีที่ประสงค์จะเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านอื่นๆ ที่ไม่ตรงกับทะเบียนบ้านของบิดาและมารดา ให้แนบทะเบียนบ้านนั้นๆ มาด้วย
7. สำเนาทะเบียนสมรส (หากบิดาและมารดาสมรสกัน)
8. กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสจะต้องกรอกแบบฟอร์มเพิ่มเติมดังนี้
8.1 กรณีบุตรใช้นามสกุลบิดา กรอกแบบฟอร์ม "คำให้การของมารดา (กรณีบุตรนอกสมรส)" และ "บันทึกการสอบปากคำของมารดาและบิดา กรณีบุตรบอกสมรส (บุตรใช้นามสกุลบิดา)"
8.2 กรณีบุตรใช้นามสกุลมารดา กรอกแบบฟอร์ม "คำให้การของมารดา (กรณีบุตรนอกสมรส)"
9. รูปถ่ายเด็ก 2x2 นิ้ว จำนวน 2 ใบ
10. เอกสารแสดงที่พักอาศัยในปัจจุบัน เช่น บิลค่าน้ำค่าไฟ จดหมายต่างๆ ที่ระบุชื่อและที่อยู่ของผู้เเจ้ง เป็นต้น
หมายเหตุ
1. การกรอกข้อมูลในคำร้องขอจดทะเบียนคนเกิด กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน เช่น น้ำหนักแรกเกิด และในกรณีบิดาหรือมารดาเป็นชาวต่างชาติ ให้กรอกคำอ่านเป็นภาษาไทยกำกับให้เรียบร้อย (เช่น ชื่อ William Parker --> วิลเลียม พาร์คเกอร์ หรือ เมืองที่เกิด Lanzhou
--> หลานโจว เป็นต้น)
2. ไม่มีค่าธรรมเนียม
3. ไม่จำเป็นต้องนำบุตรมาแสดงตัวที่สถานกงสุลฯ
+ การยื่นเอกสารทางไปรษณีย์
1. ส่งหลักฐานและเอกสารดังกล่าวข้างต้นมายังสถานกงสุลใหญ่ฯ (หลักฐานและเอกสารที่เป็นสำเนาภาษาไทยจะต้องเซ็นสำเนาถูกต้อง ลงชื่อและวันที่)
2. การส่งเอกสารทางไปรษณีย์ จะต้องส่งในแบบ Express mail ทั้งไปและกลับ (ในกรณีส่งกลับจะต้องซื้อแสตมป์ติดหน้าซองให้เรียบร้อยและสอดซองติดแสตมป์แบบ Express mail พร้อมจ่าหน้าซองถึงตัวท่านเองให้ชัดเจน)
3. ในกรณีที่เอกสารไม่ครบหรือไม่ถูกต้อง สถานกงสุลใหญ่ฯ จะติดต่อท่านทางโทรศัพท์หรืออีเมล์เพื่อแจ้งให้ท่านทราบเพื่อส่งเอกสารมาเพิ่มเติม แต่ในกรณีที่ไม่สามารถติดต่อทางโทรศัพท์หรืออีเมล์ได้ สถานกงสุลใหญ่ฯ จะส่งกลับทางไปรษณีย์ เพื่อให้ท่านเตรียมเอกสารให้ครบและจัดส่งมาใหม่อีกครั้ง
4. การแจ้งเกิดทั้งทางไปรษณีย์หรือมายื่นด้วยตนเองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ระยะเวลาในการออกใบสูติบัตรไม่เกิน 30 วัน จะได้รับเอกสารใบเกิดไทยตัวจริงพร้อมคืนเอกสารใบเกิดของทาง USA ที่ได้ยื่นไว้ในตอนแรก
5. เมื่อได้รับใบเกิดไทยตัวจริงแล้ว กรุณาตรวจสอบความถูกต้องให้เรียบร้อย หากมีสิ่งใดผิดพลาดโปรดแจ้งเจ้าหน้าที่โดยเร็วเพื่อทำการแก้ไขต่อไป
6. สถานกงสุลใหญ่ฯ ไม่รับผิดชอบกรณีเอกสารสูญหายทางไปรษณีย์
ที่อยู่สำหรับส่งไปรณีย์
Royal Thai Consulate-General NY
Department of Civil Registration
351 E 52nd St
New York, NY 10022
กรณีที่ผู้ร้องไม่สามารถมารับเอกสารได้ด้วยตัวเอง
และต้องการให้ทางเจ้าหน้าส่งเอกสารกลับไปให้ที่บ้าน
ผู้ร้องจะต้องเตรียมซองติดแสตมป์
เพื่อส่งกลับไปถึงตัวท่านเอง ทำประกันจดหมายสูญหาย
จ่าหน้าซองให้ชัดเจน แนบมาพร้อมกับหลักฐานให้กับเจ้าหน้าที่ด้วย
งานทะเบียนราษฏร์ (แจ้งเกิด เสียชีวิต สมรส หย่า บุตรบุญธรรม ขอผ่อนผันทหาร)
เปิดทำการตั้งแต่เวลา 9.00-12.30 และ 13.30-16.00 น.
โทร. 212-754-1770 ต่อหมายเลข 300
คลิก...เพื่อดาว์นโหลดคำร้อง
- เปิดทำการ วันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 10.00-12.00 และ 13.00-15.30 น.
- โทร. 212-754-1770 ต่อหมายเลข 300
|
|
|