ข้อมูลที่ต้องทราบก่อนการทำหนังสือเดินทางไทย
1. หนังสือเดินทาง (Thai Passport) มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ควรเก็บรักษาให้ดี ไม่ควรทำหายเพราะจะเกิดความยุ่งยาก
เนื่องจากผู้ที่ทำหนังสือเดินทางสูญหายจะต้องดำเนินการแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่นของ USA. (สูญหายที่ไหนจะต้องแจ้งความที่นั้น)
โดยผู้ร้องจะต้องนำใบแจ้งความจากสถานีตำรวจมาดำเนินการขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ รวมถึงการขอทำ C.I. ในกรณีที่ต้องการเดินทางด่วนเช่นกัน
2. หนังสือเดินทางสามารถทำเล่มใหม่ก่อนที่เล่มเก่าจะหมดอายุ 1 ปี
เพราะการเดินทางระหว่างประเทศจะต้องมีหนังสือเดินทางที่มีอายุเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือน
3. ผู้ร้องต้องเข้ามาทำหนังสือเดินทางด้วยตัวเองเท่านั้น เพราะต้องพิมพ์ลายนิ้วมือ 10 นิ้ว ถ่ายรูปใหม่ และสแกนม่านตา
ที่สถานกงสุลฯ
4. การทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่
ทุกท่านจะต้องเข้าไปนัดวันจองคิวเพื่อขอรับบริการทุกครั้ง (ยกเว้นผู้ที่มีอายุเกินกว่า 60 ปี ไม่ต้องลงทะเบียนจองคิว สามารถเดินทางมาเข้ารับบริการได้เลย)
5. ใช้เวลารอหนังสือเดินทางเล่มใหม่ประมาณ 3-4 สัปดาห์
6. จะต้องนำบัตรประชาชนตัวจริง (ถ้าไม่มีจะต้องทำบัตรใหม่ที่สถานกงสุลใหญ่) และหนังสือเดินทางเล่มเดิม
มาเป็นหลักฐานในการทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่
7. กรุณาจัดเตรียมค่าธรรมเนียมและค่าจัดส่งทางไปรษณีย์ให้พอดี (ชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)
8. การออกหนังสือเดินทางจะออกตามข้อมูลในบัตรประชาชน
จะไม่ออกตามหนังสือเดินทางเล่มเดิม
9. การเปลี่ยนามสกุลหลังการสมรสหรือหย่า จะต้องแก้ไขในทะเบียนราษฏร์ก่อน
โดยจะต้องดำเนินการแก้ไขที่อำเภอหรือเขต โดยทำใบมอบอำนาจให้คนที่เมืองไทยเดินทางไปแก้ไขที่เขตหรืออำเภอ หรือจะเดินทางกลับไปแก้ไขด้วยตัวเอง
เมื่อแก้ไขเสร็จแล้วก็ดำเนินการทำบัตรประชาชนใบใหม่ได้ทันที
10. ผู้ที่เกิดในต่างประเทศจะมีสิทธิขอหนังสือเดินทางได้ 1 ครั้งเพื่อที่จะเดินทางกลับประเทศไทย
เอาชื่อเข้าในทะเบียนบ้านและทำบัตรประชาชน ถ้าดำเนินการขอหนังสือเดินทางไปแล้วแต่ไม่เดินทางกลับเมืองไทยเพื่อนำชื่อเข้าทะเบียนบ้านให้เรียบร้อย กระทรวงฯ จะไม่ออกหนังสือเดินทางเล่มที่ 2 ให้
จนกว่าจะนำชื่อเข้าทะเบียนบ้านและนำเลขประจำตัว 13 หลัก มาแสดงเพื่อขอมีหนังสือเดินทางไทยเล่มที่ 2 ต่อไป
หนังสือเดินทางไทยกรณีอื่นๆ
เช่น กรณีผู้ร้องต้องการทำหนังสือเดินทางเล่มแรกในต่างประเทศ
และเป็นผู้เยาว์อายุไม่ถึง 20 ปี หรือ มากกว่า 20
ปี กรณีผู้ร้องลาราชการมาศึกษาต่อที่ต่างประเทศ กรณีผู้ร้องเป็นพระภิกษุสงฆ์
กรณีที่ต้องการทำหนังสือเดินทางเล่มแรกในต่างประเทศ
หรือเคยทำเล่มหนังสือเดินทางมาก่อนแล้ว
แต่ผู้ร้องเป็นผู้เยาว์อายุไม่ถึง 20 ปี บริบูรณ์
จองคิวเข้ารับบริการและหลักฐานที่ต้องใช้
- ลงทะเบียนจองคิวเพื่อนัดวันเข้ารับบริการทำหนังสือเดินทาง
- สูติบัตรไทย หรือบัตรประชาชน และหนังสือเดินทางเล่มเดิม (ถ้ามี)
- ทะเบียนสมรสของบิดามารดา
- บัตรประชาชนไทยหรือหนังสือเดินทางของบิดาและมารดา (กรณีเป็นชาวต่างชาติให้ใช้ I.D. หรือ DriverLicense หรือ Passport)
- บิดาและมารดาจะต้องมาลงนามให้ความยินยอมในเอกสารคำร้องต่อหน้าเจ้าหน้าที่
- ในกรณีที่บิดาหรือมารดาติดภาระกิจอยู่ในต่างประเทศไม่สามารถเดินทางมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ได้ จะต้องทำ "หนังสือยินยอม" ที่กรมการกงสุล
กระทรวงการต่างประเทศ ที่ว่าการเขต ที่ว่าการอำเภอ สถานทูตไทยฯ สถานกงสุลไทยฯ ในประเทศที่ตนติดภาระกิจอยู่ เมื่อได้หนังสือยินยอมแล้ว
ให้ดำเนินการส่งมาให้ครอบครัวเพื่อถือมาเป็นตัวแทนในการทำหนังสือเดินทาง
- กรณีที่บิดาและมารดาได้จดทะเบียนหย่าขาดจากกันแล้ว ให้ฝ่ายที่มีอำนาจปกครองบุตรเป็นผู้ลงนามในเอกสารคำร้อง
แต่ถ้าบุตรอยู่ในความปกครองของทั้งคู่ บิดาและมารดาจะต้องเดินทางมาเซ็นชื่อในคำร้องต่อหน้าเจ้าที่
- แบบฟอร์มคำร้องขอหนังสือเดินทาง 1 ชุด
กรณีที่ต้องการทำหนังสือเดินทางเล่มแรกในต่างประเทศ
ซึ่งผู้ร้องเป็นบุคคลอายุมากกว่า 20 ปี บริบูรณ์
จองคิวเข้ารับบริการและหลักฐานที่ต้องใช้
- ลงทะเบียนจองคิวเพื่อนัดวันเข้ารับบริการทำหนังสือเดินทาง
- I.D. หรือ DriverLicense
- สูติบัตรไทย หรือบัตรประชาชน และหนังสือเดินทางเล่มเดิม (ถ้ามี)
- ทะเบียนสมรสของบิดามารดา
- บัตรประชาชนไทยหรือหนังสือเดินทางของบิดาและมารดา (กรณีเป็นชาวต่างชาติให้ใช้ I.D. หรือ DriverLicense หรือ Passport)
- แบบฟอร์มคำร้องขอหนังสือเดินทาง 1 ชุด
กรณีทูตฯ หรือข้าราชการที่มาประจำการในสหรัฐอเมริกา
จองคิวเข้ารับบริการและหลักฐานที่ต้องใช้
- ลงทะเบียนจองคิวเพื่อนัดวันเข้ารับบริการทำหนังสือเดินทาง
- บัตรประชาชนและหนังสือเดินทางไทยเล่มเดิม
- บัตรข้าราชการ
- หนังสือของส่วนราชการต้นสังกัดที่อนุมัติให้ต่ออายุหนังสือเดินทาง พร้อมถ่ายเอกสาร 1 ชุด
- แบบฟอร์มคำร้องขอหนังสือเดินทาง 1 ชุด
กรณีที่ลาราชการมาศึกษาต่อที่ต่างประเทศ
จองคิวเข้ารับบริการและหลักฐานที่ต้องใช้
- ลงทะเบียนจองคิวเพื่อนัดวันเข้ารับบริการทำหนังสือเดินทาง
- บัตรประชาชนและหนังสือเดินทางไทยเล่มเดิม
- ข้าราชการและนักศึกษาที่ลามาศึกษาต่อนอกความดูแลของ ก.พ. จะต้องยื่นหนังสือของส่วนราชการต้นสังกัดที่อนุมัติให้ลาศึกษาต่อ พร้อมถ่ายเอกสาร 1
ชุด
- ข้าราชการและนักศึกษาที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ. ให้ยื่นเรื่องผ่านสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนไทยในสหรัฐฯ
- แบบฟอร์มคำร้องขอหนังสือเดินทาง 1 ชุด
จองคิวเข้ารับบริการและหลักฐานที่ต้องใช้
- ลงทะเบียนจองคิวเพื่อนัดวันเข้ารับบริการทำหนังสือเดินทาง
- บัตรประชาชนและหนังสือเดินทางไทยเล่มเดิม
- มติมหาเถรสมาคมอนุมัติการทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ (ระบุชื่อ-นามสกลุ ฉายา ตรงกับหนังสือเดินทางเล่มเดิม
- ใบสุทธิตัวจริง
- แบบฟอร์มคำร้องขอหนังสือเดินทาง 1 ชุด
ลงทะเบียนจองคิวเพื่อเข้ารับบริการทำหนังสือเดินทาง
คลิก...ที่ปุ่ม REGISTER NOW
แบบฟอร์มคำร้องขอหนังสือเดินทาง
ควรแต่งหน้าและแต่งกายอย่างไรเมื่อต้องมารับบริการทำหนังสือเดินทาง ?
- ใบหน้า : เนื่องจากจะต้องมาถ่ายรูปใหม่ที่สถานกงสุลฯ ซึ่งการถ่ายรูปนั้นจะต้องให้ตรงกับมาตราฐานของ ICAO
ซึ่งเป็นมาตราฐานข้อกำหนดในการถ่ายภาพติดบนหนังสือเดินทางทั่วโลก ซึ่งใบหน้าจะต้องได้ขนาดมาตราฐาน ชัดเจนตั้งแต่หน้าผากถึงปลายคางและปลายผมตรงติ่งหูด้านซ้ายไปถึงด้านขวา
จะต้องไม่มีอะไรมาบดบังเพื่อให้ภาพถ่ายผิดเพี้ยน
- การแต่งหน้า : ไม่ควรจะแต่งหน้าเข้มจนเกินไป ควรใช้โทนสีธรรมชาติ
(เพราะเนื่องจากรูปที่ปรากฏอยู่บนหนังสือเดินทางจะเป็นรูปสีขาว-ดำ)
- การสแกนม่านตา : ปัจจุบันมีการเก็บม่านตาเพื่อบันทึกลงในชิปข้อมูลที่อยู่ในเล่มหนังสือเดินทาง
ดังนั้นจึงไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์ (อนุญาตให้สำหรับผู้ใส่คอนแทคเลนส์สายตาแบบใสเท่านั้น) และผู้ที่ใส่แว่นสายตาจะต้องถอดแว่นสายตาขณะถ่ายรูป
- พิมพ์ลายนิ้วมือ : หนังสือเดินทางจะต้องเก็บลายนิ้วมือทั้ง 10 นิ้ว โดยที่อุปกรณ์พิมพ์ลายนิ้วมือจะอ่านจากความชื้น
ดังนั้นผู้ที่จะเดินทางมาทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ ควรจะต้องทาครีมบำรุงผิวที่บริเวณมือสักเล็กน้อยเพื่อสะดวกกับการพิมพ์ลายนิ้วมือทั้ง 10 นิ้ว
- การแต่งกาย : ควรใส่เสื้อผ้าที่เป็นสีต่างๆ ไม่ควรใส่เสื้อสีขาวเนื่องจากฉากด้านหลังเป็นสีขาว ไม่ควรใส่เครื่องประดับและต่างหู
สำหรับผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ที่ต้องสวมใส่ผ้าคลุมผม(ฮิญาบ) ควรเป็นผ้าสีเดียวไม่มีลาย เช่น สีดำล้วน เป็นต้น
การรับเล่มหนังสือเดินทางด้วยตนเอง
- มารับหนังสือเดินทางเล่มใหม่ด้วยตนเอง โดยต้องนำใบรับที่เจ้าหน้าที่ได้มอบให้มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย
การส่งหนังสือเดินทางกลับทางไปรษณีย์
- ชำระค่าจัดส่งทางไปรณีย์จำนวน $27.- (เป็นเงินสดเท่านั้น)
- เจ้าหน้าที่จะแจ้งสถานะการรับเล่มหนังสือเดินทางไปที่ e-mail ของท่าน หรือท่่านที่ไม่มี e-mail
หรือไม่ได้รับการติดต่อกลับสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ Tel.212-754-1770 ext.301 (ตั้งแต่เวลา 2.30 pm - 3.30 pm) หรือส่งข้อความมาสอบถามได้ที่ bangkoksunset@yahoo.com
- เปิดทำการ วันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 10.00-12.00 และ
13.00-15.30 น.
- โทร. 212-754-1770 ต่อหมายเลข 304, 311, 301 (กรณีที่เจ้าหน้าที่กำลังให้บริการผู้ร้องทำหนังสือเดินทาง จะไม่สามารถรับสายของท่านได้)